วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เนื้อหา เรื่องการเคลื่อนที่แบบโปรเจ็คไทล์

การเคลื่อนที่แบบโปรเจกไตล์(Motion of a Projectile)



คือการเคลื่อนที่ของวัตถุเป็นแนวโค้ง
ในกรณีที่วัตถุเคลื่อนที่อย่างเสรีด้วยแรงโน้มถ่วงคงที่ เช่น วัตถุเคลื่อนที่ไปในอากาศภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก ทางเดินของวัตถุจะเป็นรูปพาราโบลา



ข้อควรจำ




สำหรับการเคลื่อนที่แบบโปรเจกไตล



1) ความเร่งในแนวระดับ (แกน x) = ศูนย์ นั่นคือ vx = คงที่ = ux ไม่ว่าวัตถุจะอยู่ที่ตรงไหนก็ตาม



พิสูจน์ ไม่มีแรงในแนวแกน X กระทำที่วัตถุ



จาก Fx = max



O = max



ax = 0



จาก vx = ux + axt; ได้ vx = ux



2) ความเร่งในแนวดิ่ง (แกน Y ) = g



พิสูจน์ มีแรงกระทำที่วัตถุคือ w = mg ในทิศดิ่งลงตามแกน Y



จาก Fy = may



mg = may



ay = g ทิศดิ่งลง



3) เวลาที่วัตถุใช้เคลื่อนที่ตามแนวโค้ง = เวลาที่เงาของวัตถุใช้เคลื่อนที่ตามแนวแกน X = เวลาที่เงาของวัตถุใช้เคลื่อนที่ตามแนวแกน Y







ตามรูปข้างบน สมมุติวัตถุวิ่งจาก O ไปตามทางโค้ง (เส้นประ) ถึง A (ทางโค้ง OA)



เงาทางแกน X จะวิ่งจาก O ไปถึง B



เงาทางแกน Y จะวิ่งจาก O ไปถึง C



ดังนั้น tOA = tOB = tOC



4) ความเร็ว v ณ จุดใด ๆ จะมีทิศสัมผัสกับเส้นทางเดิน (เส้นประ) ณ จุดนั้น และ



(1) หาขนาดของ v โดยใช้สูตร







เมื่อ vx = ux = ความเร็วในแนวแกน X



vy = ความเร็วในแกน Y



(2) ทิศทางของ v หาได้โดยสูตร







เมื่อ x = มุมที่ v ทำกับแกน X



5) ณ จุดสูงสุด



vx = ux



vy = 0



หมายเหตุ บางทีเราเรียกวัตถุที่เคลื่อนที่แบบโปรเจกไตล์ว่า "โปรเจกไตล์" และเราเรียกการเคลื่อนที่นี้ว่า การเคลื่อนที่ของโปรเจกไตล
วิธีคำนวณ




1) ตั้งแกน X ให้อยู่ในแนวระดับ และแกน Y อยู่ในแนวดิ่ง โดยจุดกำเนิด (origin) ต้องอยู่ที่จุดเริ่มต้น



2) แตกเวกเตอร์ทุกค่าคือ ความเร็ว ระยะทาง ให้อยู่ในแนวแกน X และ Y



3) คิดทางแกน X มีสูตรเดียว เพราะ ax = 0 คือ







4) คิดทางแกน Y ใช้สูตรทุกสูตรต่อไปนี้







5) กำหนดว่าทิศทางใดเป็นบวก (+) ทิศตรงข้ามจะเป็นลบ (-) แล้วแทนเครื่องหมาย + และ - ในเวกเตอร์ต่อไปนี้ Sx, Sy, Ux, Uy, Vy, ay สำหรับเวลาเป็นปริมาณสเกลาร์เป็น + เท่านั้น



ปกติ นิยมให้ทิศทางเดียวกับความเร็วต้น (ux และ uy ) เป็นบวก (+)



6) เมื่อคิดทางแกน X และแกน Y ตามข้อ 3),4)และ 5) แล้ว จะได้ 2 สมการ จากนี้ก็แก้สมการทั้งสอง ถ้ายังไม่สามารถแก้สมการได้ให้ใช้ความสัมพันธ์จากรูป ดังนี้







ทั้งรูป (ก) และรูป (ข) ใช้ความสัมพันธ์







เมื่อ y = ระยะทาง (การขจัด) ตามแนวแกน Y



x = ระยะทาง (การขจัด) ตามแนวแกน X



=มุมที่ OA ทำกับแกน X



โปรดสังเกตว่า y ในรูป (ก) เป็น + เพราะอยู่เหนือแกน X และ Y ในรูป (ข) เป็น - เพราะอยู่ใต้แกน X แต่เราใช้ค่า y และ x ที่เป็น + เท่านั้น กับ tan เพราะ น้อยกว่า 90 องศา ( <90 องศา)
















































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น